หลักการใช้เครื่องดนตรีไทย
ตัวอย่างการใช้หรือการบรรเลงฆ้อง
ฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็ก
๑.การบรรเลงฆ้องวง ผู้เล่นต้องนั่งให้ตรงกลางฆ้องวง วิธีการนั่ง นั่งได้ทั้งพับเพียบหรือขัดสมาธิ การจับไม้ตีฆ้องวงผู้บรรเลงต้องรวบนิ้วกลางนิ้วนางและนิ้วก้อย กำไม้ฆ้องไว้กับฝ่ามือ ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้เป็นตัวประคอง ให้นิ้วชี้ชิดกับหัวไม้
ตัวอย่างการใช้หรือการบรรเลงจะเข้
จะเข้ ๑.วิธีการนั่งบรรเลงจะเข้ ให้นั่งพับเพียบตัวตรงด้านกระพุ้งอยู่ด้านซ้ายมือของผู้บรรเลง ลูกบิดอยู่ด้านขวามือ ของผู้บรรเลงมือซ้ายใช้สำหรับ กดนมจะเข้ มือขวาสำหรับพันไม้ดีด และดีดสายจะเข้
ตัวอย่างการใช้หรือการบรรเลงระนาดเอก
ระนาดเอก และระนาดทุ้ม
๑.ลักษณะการบรรเลงระนาดผู้บรรเลงนั่งพับเพียบหรือขัดสมาธิ โดยให้ลำตัวอยู่กึ่งกลางของเท้าระนาดการจับไม้ระนาด ให้นิ้วชี้อยู่ด้านบนของก้านไม้ นิ้วโป้งอยู่ด้านข้างนิ้วกลางนิ้วนางนิ้วก้อยกำอยู่ใต้ไม้
ตัวอย่างการใช้หรือการบรรเลงขิม
ขิม
๑.การบรรเลงขิม ควรนั่งพับเพียบให้อยู่ตรงกลางขิม ระยะห่างประมาณ ๑ คืบ นั่งตัวตรงไม่โน้มตัวไปทางใดทางหนึ่ง การจับไม้ตีขิม ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ทั้ง ๒ มือจับไม้ตีขิม นิ้วที่เหลือหุ้มในลักษณะดอก บัวตูม
ตัวอย่างการใช้หรือการบรรเลงซออู้
ซอด้วงและซออู้ ๑.ผู้บรรเลงควรขึ้นสายซอ และเลื่อนหย่องหรือหมอน(ใช้หนุนสายซอ) ให้อยู่กึ่งกลางของหน้าซอ จากนั้นเทียบเสียงของซอตามประเภทซอนั้นๆ ผู้บรรเลงนั่งตัวตรง มือซ้ายจับคันซอเพื่อกด สายซอ มือขวา จับคันชักวางกะโหลกซอตรงหน้าขาซ้ายข้างลำตัวของผู้บรรเลง
ตัวอย่างการใช้หรือการบรรเลงปี่ใน
ขลุ่ย และปี่ ๑.ท่านั่งในการเป่า ผู้เป่าสามารถนั่งได้ทั้งท่าพับเพียบและนั่งขัดสมาธิ นั่งตัวตรง ยกมือทั้งสองข้างให้แขนทั้งสองข้างกลางออกพอประมาณ ไม่หนีบแขน จับขลุ่ยและปี่ในท่าสบาย ไม่เกร็ง โดยใช้มือ ขวาอยู่ด้านบนมือซ้ายอยู่ด้านล่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น